เมืองพระตะบอง เป็นหัวเมืองสำคัญของกัมพูชา เพราะเป็นหัวเมืองที่เป็นอู่ข้าวอู่น้ำ ด้วยเหตุที่มีพื้นที่ติดทะเลสาบ และมี
แม่น้ำสังแกไหลผ่าน ทำให้ดินแดนบริเวณนี้มีความอุดมสมบูรณ์มาก จนมีคำกล่าวกันในหมู่ชาวกัมพูชาว่าเมืองพระ
ตะบองเพียงเมืองเดียวสามารถปลูกข้าวเลี้ยงประเทศกัมพูชาได้ทั้งประเทศ
ไทยได้เข้าปกครองเมืองพระตะบองและหัวเมืองใกล้เคียงให้ขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ โดยมีเจ้าเมืองเป็นขุนนางเชื้อสาย
กัมพูชา คือ เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (แบน) เป็นผู้ปกครอง เมื่อเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (แบน) ถึงแก่อสัญกรรม ทาง
กรุงเทพฯ ได้ตั้งเจ้าเมืองพระตะบองโดยเลือกจากเชื้อสายของเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (แบน) และกรมการเมืองพระตะบอง
ที่มีความสามารถไปปกครอง จนถึงปี พ.ศ. 2450 ซึ่งเป็นปีที่ไทยได้ทำสนธิสัญญากับฝรั่งเศส ลงวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ.
2450 โดยแลกมณฑลบูรพา (พระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ) กับเมืองด่านซ้าย เมืองตราดรวมทั้งหมู่เกาะต่างๆ
ย้อนอดีตกันต่อกับปราสาทบานอน สร้างขึ้นในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 11 และ พุทธศตวรรษที่ 12 ตอนต้น ในยุคของ
พระเจ้าอุทัยทิตย์วรมันที่ 2 ตั้งอยู่บนเนินเขา เราต้องเดินขึ้นบันใด 358 ขั้น ก่อนจะถึงตัวปราสาท ที่นี่เป็นสถานที่สำคัญ
ของเมืองพระตะบองเพราะคนเขมรเชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์เรื่องการบนบานอย่างมาก ชาวเขมรมีความเชื่อว่า ไม่ว่าจะ
บนบานที่ใดในดินแดนเขมรมาก็ตาม มาที่นี่ก็สามารถแก้บนทั้งหมดได้