ปรินิพพตสถาน พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน
สังเวชนียสถานแห่งที่ ๔ กุสินารา
การดับรอบความปราศจากกิเลสที่ร้อยรัดคือการดับสนิท ดับด้วยไม่เหลือแห่งกิเลสและกองทุกข์ ที่ใต้ต้นสาละคู่ ณ สาลวโนทยาน เมืองกุสินารา พระพุทธเจ้าพระองค์ทรงเตือนสติ ไม่ให้ประมาท ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือนวิสาขะ วันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า มีพุทธโอวาทความว่า “เราขอเตือนท่านทั้งหลาย สังขารทั้งหลายมีความเสื่อม ความสิ้นไปเป็นธรรมดาท่านทั้งหลายจงบำเพ็ญไตรสิขาคือ ศีล สมาธิ ปัญญาให้บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด “
การเดินทางสู่เมือง กุสินารา
เมืองกุสินารา หรือ กาเซีย เป็นสังเวชนียสถาน ๔ ตำบล แห่งสุดท้ายสถานที่ พระพุทธองค์ทรงเสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ สาลวโนทยาน ใต้ต้นสาละ
การเดินทางมาสู่เมืองกุสินารา โดยทั่วไปจะใช้เส้นทางรถยนต์ ระยะทางจากเมืองปัตนะมายังกุสินารา ประมาณ 350 กิโลเมตรใช้ระยะเวลาประมาณ 6 ชม หรืออีกเส้นทางหนึ่งคือ จากพาราณสี มายังกุสินารา ระยะทางประมาณ 280 กิโลเมตร ระยะเวลาประมาณ 6 ชม โดยผ่านเมืองใหญ่คือเมือง โครักขปูร์(Gorakhpur) ซึ่งห่างจากกุสินาราประมาณ 50 กิโลเมตร ในบางทริปที่แสวงบุญ ทางฟาฟา ทราเวลได้จัดให้พัก ณ เมืองโครักขปูร์ เนื่องจากช่วยลดระยะเวลาการเดินทางสู่ลุมพินีและกุสินาราได้ดีและห้องพักที่สะอาดและปลอดภัย
จาริกแสวงบุญ ณ เมืองกุสินารา
เมื่อเดินทางมาถึงเมืองกุสินารา สังเวชนียสถานที่สำคัญจุดหนึ่ง เป็นจุดที่ให้ระลึกถึงองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จดับขันธปรินิพพาน เป็นจุดที่เราทุกคนพึง ระลึกอยู่เสมอว่า สังขารนั้นไม่เที่ยง มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ตามพุทธโอวาสที่ได้กล่าวไว้ว่า “เราขอเตือนท่านทั้งหลาย สังขารทั้งหลายมีความเสื่อม ความสิ้นไปเป็นธรรมดาท่านทั้งหลายจงบำเพ็ญไตรสิขาคือ ศีล สมาธิ ปัญญาให้บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด ” สถานที่สำคัญแห่งนี้ ในการจาริกแสวงบุญและกิจกรรมต่างๆมีดังต่อไปนี้
ณ บริเวณพุทธปรินิพพานวิหาร และพระสถูปเจดีย์
จุดที่สำคัญที่สุดในเมืองกุสินารา สถานที่พระพุทธองค์ทรงดับขันธ์ปรินิพพาน ภายในบริเวณประกอบไปด้วยสวนไม้สาละ และ วิหารที่ตั้งของพระพุทธไสยาสน์ปางปรินิพพาน ที่แสดงถึงพระพุทธองค์ทรงเสด็จดับขันธ์ ณ จุดแห่งนี้ รวมไปถึงพระสูปเจดีย์ด้านหลังวิหาร ซึ่งถือว่าเป็นจุดที่องค์พระพุทธเจ้าทรงเสด็จดับขันธ์ ณ จุดแห่งนี้ บรรยากาศบริเวณพุทธปรินิพพานสถาน มีความสลดหดหู่ ตรึงไว้ด้วยความอาลัยเศร้า เปรียบเสมือนองค์พระพุทธองค์ได้ทรงสอนให้แก่ผู้มาจาริกแสวงบุญไว้ว่า ร่างกายเรานั้นไม่มีความเที่ยงแท้แน่นอน เมื่อเรามาจาริก ณ สถานที่สำคัญแห่งนี้ต้องตระหนักในจิตใจอยู่สม่ำเสมอ และพิจารณาอยู่เป็นดิจ ในความไม่เที่ยงนี้
สำหรับการแสวงบุญและสร้างศรัทธาให้เกิดขึ้นนั้น ทางฟาฟา ทราเวลได้ร่วมกับคณะแสวงบุญในทุกๆทริปร่วมกันจัดทำ ผ้าห่มคลุมองค์พระพุทธรูปปางปรินิพพาน ถวายยังสถานที่สำคัญแห่งนี้ และร่วมกันสวดมนต์บูชาพระพุทธองค์ พร้อมร่วมเจริญจิตภาวนา ณ สถานที่แห่งนี้
ภาพกิจกรรมการจาริกแสวงบุญ ณ สาลวโนทยาน
ณ มกุฎพันธนเจดีย์ สถานที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ
จุดสำคัญอีกหนึ่งจุด ณ สังเวชนียสถานแห่งนี้ คือ มกุฎพันธนเจดีย์ สถานที่ที่ระบุไว้ว่า เป็นสถานที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของพระพุทธเจ้า ซึ่งอยู่ห่างจาก สาลวโนทยานประมาณ 1 กิโลเมตร ภายในบริเวณจะมีสถูปเก่าแก่ ที่ตั้งอยู่ให้พึ่งระลึกเสมอว่า ณ จุดแห่งนี้เป็นที่ถวายพระเพลิง ในการจาริกแสวงบุญ ณ สถานที่แห่งนี้เราจะร่วมกันปลงอนิจจัง ณ สถานที่แห่งนี้ พร้อมทั้งแผ่เมตตา แผ่ส่วนบุญส่วนกุศล ให้กับญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้วในทุกๆชาติ ที่เรารู้จักอยู่ก็ดี ไม่รู้จักอยู่ก็ดี ตลอดจนผู้มีพระคุณ นายพระคุณต่างๆ รวมไปทั้งเจ้ากรรมนายเวรที่เราระลึกได้อยู่ก็ดี ระลึกไม่ได้อยู่ก็ดี พร้อมทั้งเทพเทวา ที่ปกปักรักษาเราและสถานที่สำคัญแห่งนี้ ได้พึงมารับส่วนบุญ ส่วนกุศล และร่วมโมทนาบุญกับคณะแสวงบุญ จากที่เราได้เพียรบำเพ็ญมาแล้ว ณ สถานที่สำคัญแห่งนี้ พร้อมกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล
ภาพกิจกรรม ณ มกุฎพันธนเจดีย์
สถานที่ โทณพราหมณ์ จัดสรรแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ
สถานที่อีกหนึ่งจุด ที่คณะแสวงบุญ จะได้ร่วมกันกราบไหว้พร้อมนั่งสมาธิ อธิษฐานจิต ณ จุดที่โทณพราหมณ์ จัดสรรแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งอยู่บริเวณข้างวัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ ในส่วนนี้คณะแสวงบุญ จะร่วมกันนั่งสมาธิอธิษฐานจิต ตามบุญวาสนา ของแต่ละท่าน ถ้าเทพเทวาอนุเคราะห์ อาจเป็นไปได้ว่าบุญของผู้แสวงบุญได้รับพระบรมสารีริกธาตุ จะเสด็จลงมา ณ สถานที่แห่งนี้ (เป็นความเชื่อส่วนตัว) ก็เป็นไปได้ ถือว่าเป็นบุญของท่านนั้นๆ ที่อาจจะได้รับ
ภาพกิจกรรม ณ สถานที่แบ่งพระบรมสารีริกธาตุ
วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์
สถานที่สำคัญอีกหนึ่งจุด ที่คณะแสวงบุญ จะได้ร่วมกันทอดผ้าป่าสร้างวัดไทย ณ เมืองกุสินารา ประวัติความเป็นมา วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ ๑ วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ ตั้งอยู่ที่เมืองกุสินารา รัฐอุตตรประเทศ สาธารณรัฐอินเดีย เริ่มการก่อสร้างตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๕๓๗ ภายใต้ดำริของพระสุเมธาธิบดี อดีตอธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุฯ โดยมีพระราชรัตนรังษี (ประธานสงฆ์วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์) เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง แล้วเสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ.๒๕๔๒ ด้วยแรงศรัทธาของคณะสงฆ์ไทย คณะพุทธบริษัทชาวไทย และชาวพุทธในประเทศอินเดีย พร้อมใจกันสร้างขึ้น ณ เมืองกุสินารา อันเป็นสังเวชนียสถานที่ดับขันธปรินิพพานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อเป็นการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาคืนสู่มาตุภูมิ น้อมถวายเป็นพุทธบูชา และเฉลิมพระเกียรติถวายเป็นพระราชกุศลแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเนื่องในวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี และในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๗๒ พรรษา (ข้อมูลจากเว็บไซต์ วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ )
ข้อมูลต่างๆจากทางวัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ (ข้อมูลจากเว็บไซต์ วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ )
พระมหาเจดีย์ “พระมหาธาตุเฉลิมราชศรัทธา”
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระปรีชาสามารถในงานสถาปัตยกรรมไทยอย่างแท้จริง ดังได้พระราชทานฝีพระหัตถ์ให้เป็นที่ประจักษ์แก่พสกนิกร พร้อมทั้งยังพระราชทานคำวินิจฉัยเป็นลำดับ และตั้งแต่เริ่มแรกการออกแบบ พระองค์ท่านยังแสดงถึงความเป็นพุทธมามกะที่พร้อมจะถวายกุศลอันยิ่งใหญ่แก่พระศาสนา โดยพระราชทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ในการก่อสร้างนับแต่มีพระบรมราชวินิจฉัยในเบื้องต้น และเมื่อการก่อสร้างเสร็จสิ้นแล้ว ยังทรงมีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ เพื่อนำไปใช้เป็นทุนในการทำนุบำรุงให้ยั่งยืนตลอดไป อีกทั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมสารีริกธาตุกลับสู่แดนพุทธภูมิ และเส้นพระเจ้า เพื่ออัญเชิญไปประดิษฐานในพระธาตุเจดีย์ที่ได้มีพระราชกระแสรับสั่งแก่ผู้ใกล้ชิดว่า “เจดีย์ของฉัน”
แนวความคิดในการออกแบบตามพระราชดำริ
รูปแบบทางสถาปัตยกรรม-ผู้ออกแบบต้องการให้แสดงออกถึงความเป็นงานสถาปัตยกรรมไทย ซึ่งมีการประสมประสานลักษณะเด่นทางสถาปัตยกรรมของธาตุเจดีย์ที่ปรากฏในประเทศไทยมาแต่โบราณ ทั้งนี้ความสูงโดยรวมของพระมหาเจดีย์จะไม่สูงเกินกว่าพระสถูปปรินิพพานที่สวนวโนทยาน (สาลวโนทยาน) คือสูงรวมไม่เกิน ๑๙ เมตร สถาปนิกได้ออกแบบโดยคำนึงถึงขนาดและสัดส่วนที่สวยงามภายใต้ข้อจำกัดดังกล่าว
ประโยชน์ใช้สอยอาคาร – แบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ส่วนที่หนึ่งเป็นส่วนที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุประกอบเครื่องบูชา ซึ่งจะอยู่ในแกนกลางพระมหาเจดีย์ ส่วนที่สองคือพื้นที่ใช้งานของพุทธบริษัท ซึ่งมีพื้นที่ส่วนที่มีหลังคาคลุม สามารถปฏิบัติบูชาสักการะได้แม้ในขณะเวลากลางวันที่มีอากาศค่อนข้างร้อน และพื้นที่ส่วนเปิดโล่งรอบนอกที่ใช้เป็นลานประทักษิณเมื่อมีคนจำนวนมากได้
ออกแบบโดย อาจารย์วนิดา พึ่งสุนทร จากมหาวิทยาลัยศิลปากร ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานมาเพื่อประดิษฐานไว้ภายในพระมหาเจดีย์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ทรงประกอบพิธียกยอดฉัตรพระมหาเจดีย์ พระมหาธาตุเฉลิมราชย์ศรัทธา เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๔๘
———————————————————–
เจดีย์มีไว้เป็นอนุสรณ์ คือ เป็นเครื่องระลึกถึงพระพุทธเจ้าเพื่อเตือนใจให้น้อมรำลึกถึงพระพุทธคุณและคำสอนของพระองค์แล้วตั้งใจนำมาประพฤติปฏิบัติ เราเรียนรู้ธรรมหรือจำมาได้บ้าง แต่บางทีชินชาไป พอเห็นพระพุทธรูปหรือพระเจดีย์ก็นึกขึ้นได้ หรือสำทับกับตัวเองให้มั่น ให้มีกำลังตั้งใจปฏิบัติ อย่างน้อยเข้าไปใกล้ได้เห็นพระเจดีย์แล้ว ใจโน้มไปในความสงบเบิกบานผ่องใส ก็เป็นบุญเป็นกุศล ไม่ใช่จะเอาความใหญ่โตหรือไปแข่งขนาดกับใคร
พระสถูปเจดีย์ที่ตรัสรู้ และปรินิพพาน เป็นต้น ในอินเดียนั้นแม้เวลาล่วงไป ๒๕๐๐ กว่าปี ชาวพุทธก็เพียรพยายามเดินทางไปนมัสการกันไม่ขาด ตั้งใจไปกันจริงจัง และนับวันจะไปกันมากขึ้น คนไปแล้วก็ไปอีก บางคนไปมากมายหลายครั้ง แล้วก็ไม่ได้ติดใจว่าจะไปชมความใหญ่โตมโหฬาร
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต)
ที่พักและอาหาร
ในทริปการแสวงบุญ ณ เมืองกุสินารา ทางฟาฟา ทราเวล เลือกใช้บริการคือ โรงแรมที่พักในเมืองกุสินารา มาตรฐานสูงสุด ณ เมืองกุสินารา เช่น Lotus nito เป็นต้น โดยในบางทริปก็จะนำพาทุกท่านพักยัง วัดไทยกุสินารา เฉลิมราชย์ ซึ่งห้องพักจะแยกชายหญิง และพระ เป็นระเบียบเรียบร้อย และสะอาดพร้อมแต่ละห้องพักได้ 4-5 ท่าน พร้อมห้องน้ำและห้องอาบน้ำในตัว ซึ่งถ้าทริปที่เข้าพัก ณ วัดไทยกุสินารา ทุกท่านจะได้ร่วมทำบุญผ้าป่า และชำระหนี้สงฆ์ พร้อมทั้งรับประทานอาหาร ณ วัดไทยกุสินารา เช่นกัน
[insert page=’buddhist-destinations-1′ display=’content’]
เชิญร่วมแสวงบุญ
[insert page=’packagetour’ display=’content’]