ฟาฟา ทราเวลอัพเดทเรื่องราว เส้นทางจาริกแสวงบุญ สามารถติดตามรายละเอียดได้ที่ เส้นทางจาริกแสวงบุญ
2,264 total views, 2 views today
ฟาฟาทราเวล ทัวร์จาริกแสวงบุญ โทร 089-1094455, 02-512-5568 ใบอนุญาตธุรกิจนำเที่ยวเลขที่ 11/08413
๏เส้นทางใหม่สังเวชนียสถาน +ศรีลังกา เปิดให้บริการ สอบถาม 0891094455 ๏
ฟาฟา ทราเวลอัพเดทเรื่องราว เส้นทางจาริกแสวงบุญ สามารถติดตามรายละเอียดได้ที่ เส้นทางจาริกแสวงบุญ
2,264 total views, 2 views today
ศรีลังกา
พระเขี้ยวแก้วเมืองแคนดี้
เหตุผลที่ชัดเจนหนึ่งในการมาเที่ยวศรีลังกาคือด้านพุทธศาสนาเพราะศรีลังกามี สิ่งศักดิ์สิทธิ์หนึ่งที่พิเศษไม่มีที่ไหนในโลกคือพระเขี้ยวแก้ว (พระทนต์ของพระพุทธเจ้า)ซึ่งกล่าวกันว่ามีเพียง 2 แห่งในโลกมนุษย์คือที่ศรีลังกาและที่จีนอีกแห่งหนึ่ง หากเพื่อการไปสักการะพระเขี้ยวแก้วแล้ว ก็เห็นว่าสมควรจะมา เพราะหลังพระพุทธองค์เสด็จปรินิพพานแล้วสิ่งที่เหลือคือพระธรรมกับพระสงฆ์ และวัตถุต่างๆ ที่เราทราบกันว่าคือพระบรมสารีริกธาตุบ้าง รอยพระบาทบ้าง สถานที่พระพุทธเจ้าเคยบำเพ็ยเพียรหรือที่เกี่ยวข้องในฐานะสังเวชนียสถานทั้ง 4 แห่งบ้าง รวมทั้งต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่พุทธคยา ซึ่งชาวพุทธยังคงถือว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก ดังนั้นในบรรดาสิ่งที่หลงเหลืออยู่ ที่เป็นวัตถุและเป็นอนุสรณ์ของพระพุทธเจ้าที่สำคัญก็คือพระเขี้ยวแก้วซึ่ง เป็นส่วนหนึ่งของพระพุทธเจ้า ศรีลังกาจึงมีคุณค่าสำหรับชาวพุทธฉะนี้
ทรงแสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาโปรดปัญจวัคคีย์ ณ ธัมเมกขสถูป สถูปใหญ่แห่งนี้
ครบองค์พระรัตนตรัยตั้งแต่บัดนั้น “อาสาฬหบูชา” หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือน ๘
หรือการบูชาเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในวันเพ็ญเดือน 8 ซึ่งก็คือ
พระรัตนตรัยได้กำเนิดครบองค์สามในวันนั้น
(1) การมีอยู่ซึ่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
(2) พระพุทธเจ้าทรงแสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตรอันเป็นปฐมเทศนาแก่คณะปัญจวัคคีย์ทั้งห้า เกิดพระธรรม
(3) เมื่อจบปฐมเทศนา ท่านโกณฑัญญะ หนึ่งในปัญจวัคคีย์ ดวงตาเห็นธรรม บรรลุโสดาบัน เป็นจุดกำเนิดของพระสงฆ์รูปแรกของโลก
รอบบริเวณป่าอิสิปตนในปัจจุบัน คงเหลือเพียงซากโบราณสถานที่สำคัญกระจายอยู่เป็นพื้นที่กว้าง
ซึ่งพระเจ้าอโศกมหาราชทรงโปรดให้สร้างขึ้น ที่สำคัญควรกล่าวถึงได้แก่
เจาคันธีสถูป: เป็นจุดที่เชื่อว่าพระพุทธเจ้าได้ทรงพบกับปัญจวัคคีย์ ณ สถานที่แห่งนี้ แต่สภาพที่เห็นปัจจุบันมีการต่อเติมในเวลาต่อมา และยังมีสภาพสมบูรณ์
ธัมเมกขสถูป: เป็นจุดที่เชื่อว่าพระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์ มีหลักฐานเชื่อได้ว่าของเดิมมีความสูงกว่าที่เห็นในปัจจุบันมากนัก แต่ส่วนยอดพังลงมาตามกาลเวลา
มูลคันธกุฎี: เป็น “กุฏิ” ที่พระพุทธเจ้าประทับในพรรษาแรกหลังการตรัสรู้
แม่น้ำคงคา เมืองพาราณสี
ชมความงามและวิถีชีวิตริมฝั่งแม่น้ำคงคาในเวลาเช้า ชมท่าน้ำที่เผาศพ
คือ ท่ามณิกรรณิการ์ ซึ่งไฟไม่เคยดับมากว่าสี่พันปีแล้ว
พร้อมอธิษฐานจิตและแผ่เมตตา สักการะพระบรมสารีริกธาตุ ณ กลางแม่น้ำคงคา
ทำพิธีลอยเคราะห์ปล่อยโศก กลางแม่น้ำคงคา
เป็นที่ตั้งของสังเวชนียสถานแห่งที่ 4
ในสมัยพุทธกาลเป็นเมืองเอกหนึ่งในสองของแคว้นมัลละ อยู่ตรงข้ามฝั่งแม่น้ำคู่กับเมือง ปาวา
เป็นที่ตั้งของ สาลวโนทยาน หรือป่าไม้สาละที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน
และเป็นสถานที่ถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้า
อนุสรณ์สถานแห่งการปรินิพพาน สาลวโนทยาน พระราชอุทยานไม้สาละแห่งกษัตริย์มัลละ
เมืองกุสินารา พระพุทธองค์เสด็จมาประทับอนุฏฐานไสยาสน์
คือการบรรทมครั้งสุดท้ายของพระพุทธเจ้า ระหว่างไม้รังคู่ โดยหันพระเศียรไปทางทิศเหนือ
ตรัสปัจฉิมวาจาว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราขอเตือนเธอทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อไปเป็นธรรมดา
เธอทั้งหลายจงถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด”
แล้วเสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ ที่นี้ ปัจจุบัน สาลวโนทยาน เป็นอุทยานซึ่งประกอบไปด้วย
(๑) มหาปรินิพพานสถูป ตั้งอยู่ด้านหลังของมหาปรินิพพานวิหาร เป็นสถูปแบบทรงโอคว่ำขนาดใหญ่
ซึ่งพระเจ้าอโศกมหาราชเป็นผู้สร้างและได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้
เชื่อกันว่าเป็นที่บรรทมครั้งสุดท้ายและเป็นสถานที่พระพุทธองค์ปรินิพพาน ณ ใต้ต้นสาละคู่
ภายหลังได้สร้างสถูปครอบไว้ดังจะเห็นได้ในปัจจุบัน
สถูปมีความสูง ๖.๑๐ เมตรเหนือระดับพื้นดิน ด้านบนของสถูปเป็นฉัตร ๓ ชั้น
และ ๒) มหาปรินิพพานวิหาร หรือวิหารพุทธไสยาสน์ ตั้งอยู่ด้านหน้าบนฐานเดียวกันกับมหาปรินิพพานสถูป
มีบันไดอิฐสูงขึ้นไปบนเนิน ภายในประดิษฐาน “พระพุทธรูปปางปรินิพพาน”
อยู่บนพระแท่นทำด้วยหินทรายแดงหรือเรียกว่า จุณศิลา องค์พระพุทธรูปยาว ๒๓ ฟุต ๙ นิ้ว (ราว ๗ เมตร)
กว้าง ๕ ฟุต ๖ นิ้ว สูง ๒ ฟุต ๑ นิ้ว ศิลปะมถุรา มีอายุมากกว่า ๑,๕๐๐ ปี
ที่พระแท่นมีรูปสลักของสุภัททปริพาชกกำลังเข้าไปขอบวช
และมีรูปสลักพระอนุรุทธะและพระอานนท์อยู่ด้วย
พระพุทธรูปองค์นี้เป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธองค์ที่กำลังเสด็จดับขันธปรินิพพาน
ประทับนอนบรรทมตะแคงขวา โดยหันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันตก
และมีซากศาสนสถานโบราณโดยรอบมากมาย
ในจารึกระบุผู้จัดสร้างพระพุทธรูปองค์นี้ คือ หริพละสวามี นายช่างผู้แกะสลัก
ชื่อ ธรรมทินนา เป็นชาวเมืองมถุรา ในปัจจุบันพระพุทธรูปองค์นี้ถือได้ว่า
เป็นจุดหมายสำคัญที่ชาวพุทธจะมาสักการะ
เพราะเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะอันพิเศษคือเหมือนคนนอนหลับธรรมดา
แสดงให้เห็นว่าพระพุทธองค์ได้เสด็จดับขันธปรินิพพานจากไปอย่างผู้หมดกังวลในโลกทั้งปวง
มกุฏพันธนเจดีย์ ได้ถูกสร้างขึ้นในรัชสมัย พระเจ้าอโศกมหาราช
บริเวณด้านตะวันออกของ เมืองกุสินารา หรือปัจจุบันคือ ‘ตำบลกาเซีย’
รัฐอุตตรประเทศ ตรงบริเวณที่ถวายพระเพลิงพระพุทธ
สรีระของพระพุทธเจ้าใน วันอัฏฐมีบูชา
เดิมทีบริเวณมกุฏพันธนเจดีย์เป็นเชิงตะกอนไม้จันทร์หอม
เพื่อใช้สำหรับถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของพระพุทธเจ้า
ต่อมาพระเจ้าอโศกมหาราชจึงทรงสั่งให้สร้างพระสถูปครอบบริเวณนั้นลง
แต่สมัยต่อมาเมืองกุสิรานาถูกรุนรานและพระสถูปองค์นี้ถูกทำลายลงเหลือเพียงแต่ซากปรักหักพัง
ภายหลังได้มีการค้นพบเป็นซากพระสถูปขนาดใหญ่ดังที่เห็นในปัจจุบัน
ซึ่งต่อมารัฐบาลอินเดียได้เข้ามาบูรณะซ่อมแซมพระสถูปองค์นี้ไว้อย่างดี
ถ้าวัดรอบฐานของพระสถูปองค์นี้มีความยาวทั้งหมด 46.14 เมตร ส่วนเส้นผ่าศูนย์กลาง 37.18 เมตร
กิจกรรมต่างๆของทางคณะแสวงบุญ
พระพุทธเจ้ามีพระนามเดิมว่า “สิทธัตถะ”
เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ กษัตริย์ผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ทางภาคใต้ของประเทศเนปาล พระราชมารดาทรงพระนามว่า “พระนางสิริมหามายา”
ซึ่งเป็นพระราชธิดาของกษัตริย์ราชสกุลโกลิยวงศ์แห่งกรุงเทวทหะ แคว้นโกลิยะ
เจ้าชายสิทธัตถะประสูติเมื่อ 80 ปีก่อนพุทธศักราช ที่สวนลุมพินีวัน ณ ใต้ต้นสาละนั้น ซึ่งอยู่ระหว่างพรมแดนกรุงกบิลพัสดุ์และกรุงเทวทหะ(ปัจจุบันคือ ต.รุมมินเด ประเทศเนปาล) ได้มีพราหมณ์ทั้ง 8 ได้ทำนายว่า เจ้าชายสิทธัตถะมีลักษณะเป็นมหาบุรุษ คือ ถ้าดำรงตนในฆราวาสจะได้เป็นจักรพรรดิ ถ้าออกบวชจะได้เป็นศาสดาเอกของโลก แต่โกณฑัญญะพราหมณ์ผู้อายุน้อยที่สุดในจำนวนนั้น ยืนยันหนักแน่นว่า พระราชกุมารสิทธัตถะจะเสด็จออกบวชและจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน
ทันทีที่ประสูติ ทรงดำเนินด้วยพระบาท 7 ก้าว มีดอกบัวผุดรองรับ ทรงเปล่งพระวาจาว่า “เราเป็นเลิศที่สุดในโลก ประเสริฐที่สุดในโลก การเกิดครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้ายของเรา”
ปัจจุบันลุมพินีวันอยู่ในเขตประเทศเนปาล ติดชายแดนประเทศอินเดียทางเหนือเมืองโคราฆปุระ ห่างจากเมืองติเลาราโกต (หรือ นครกบิลพัสดุ์) ทางทิศตะวันออก 11 กิโลเมตร และห่างจากสิทธารถนคร (หรือ นครเทวทหะ) ทางทิศตะวันตก 11 กิโลเมตร ซึ่งถูกต้องตามตำราพระพุทธศาสนาที่กล่าวว่าลุมพินีวันสถานที่ประสูติ ตั้งอยู่ระหว่างเมืองกบิลพัสดุ์และเมืองเทวทหะ ปัจจุบัน ลุมพินีวันมีเนื้อที่ประมาณ 2,000 ไร่ ทางการเรียกสถานที่นี้ว่า รุมมินเด มีสภาพเป็นชนบท มีผู้อาศัยอยู่ไม่มาก มีสิ่งปลูกสร้างเป็นพุทธสถานเพียงเล็กน้อย แต่มีวัดพุทธอยู่ในบริเวณนี้หลายวัด รวมทั้งวัดไทยลุมพินี ลุมพินีวันได้รับการยกย่องจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540
กิจกรรมต่างๆ ณ สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล ที่จะทำให้ทุกท่านเบิกบานใจ เกิดปิติสุขกันถ้วนหน้า
บรรดาพุทธสถานที่มีอยู่มากมายในอินเดีย นอกจากสังเวชนียสถานทั้ง ๔ แห่งแล้ว ยังมีพุทธสถานอีกแห่งหนึ่งซึ่งนับเป็นสถานที่ที่พุทธศาสนิกชน ผู้มีศรัทธาอย่างหนักแน่นต่อพระพุทธองค์ควรไปนมัสการให้ได้สักหนึ่งครั้งในชีวิต เพราะสถานที่แห่งนี้สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ถึง ๒๕ พรรษา ตรัสพระธรรมเทศนาและแสดงธรรมแก่ภิกษุและพุทธบริษัทให้บรรลุอมตธรรมเป็นจำนวนมาก มีพระอรหันตสาวกอยู่จำพรรษานับพันนับหมื่นองค์ อุบาสกอุบาสิกาก็เป็นเลิศกว่าใครในแผ่นดิน พระราชาก็ศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างดียิ่ง
โบราณสถานพระเชตวัน มหาวิหาร นครสาวัตถี รัฐอุตรประเทศ “อนาถบิณฑิกเศรษฐีเรียงลาดเงิน ๑๘ โกฏิ ซื้อที่จากเจ้าเชตสร้างพระเชตวันวิหารด้วยเงินถึง ๑๘ โกฏิ ฉลองวิหารด้วยเงิน ๑๘ โกฏิ รวมทั้งสิ้น ๕๔ โกฏิ” ภายในโบราณสถานพระเชตวัน มหาวิหาร ประกอบไปด้วย
มูลคันธกุฎี พระคันธกุฎี อยู่ภายในพระเชตวันวิหารเป็น ๑ ใน ๔ กุฎี เป็นสถานที่ที่ พระพุทธองค์จำพรรษานานถึง ๑๙ พรรษา พระคันธกุฎีพระพุทธเจ้าเป็นหนึ่งในอจลมหาสถานที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ไม่ทรงละและเป็นศูนย์กลางในการประกาศพุทธธรรม
หมู่กุฏิพระอริยสาวก พระพุทธองค์ ประทับนานถึง ๑๙ พรรษา มีพระสาวกองค์สำคัญมาสนองงาน พระเชตวันจึงเป็นศูนย์กลางเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่สำคัญที่สุดในครั้งพุทธกาล
ในภาพเป็นกุฏิพระสารีบุตร โดยรอบจะมีกุฏิพระอรหันต์ อีกเช่น พระสีวลีเถระ พระมหากัสสปะสังฆวุฒาจารย์ องคุลีมาล พระโมคคัลลานะ พระอุบาลี พระอานนท์ เป็นต้น
อานันทโพธิ ต้นไม้มงคลในเชตวัน พระโมคคัลลานะนำเมล็ดจากพุทธคยาโดยทางอากาศ ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีผู้ปลูกตามพุทธประสงค์ ด้วยความดำริของพระอานนท์ องค์สมเด็จพระทศพลเสด็จมาเจริญภาวนาตลอดราตรี “พระอานนท์ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระองค์เสด็จหลีกไป พระมหาวิหารเชตวันหมดที่พึ่งอาศัย มนุษย์ทั้งหลายไม่ได้สถานที่เป็นที่บูชา ช้าพระองค์จักนำพืชจากต้นมหาโพธิ์มาปลูกที่ประตูพระเชตวัน พระเจ้าข้า พระศาสดาตรัสว่า ดีแล้ว อานนท์ เธอจงปลูกเถิด เมื่อเป็นเช่นนั้น ในพระเชตวันก็จักเป็นดังตถาคตอยู่เป็นนิตย์”
วิหารธรรมสภา ที่ชุมนุมฟังธรรม ชนจากทิศทั้ง ๔ มาเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมโปรดเวไนยนิกร
เป็นสถานที่กำเนิดคำสอนจากพระสูตร คาถาธรรมบทจำนวนมาก
นางปฏาจาราวิสาขามหาอุบาสิกา มาฟังธรรมที่นี่ด้วย
วิหารสังฆสภา สถานที่ประชุมสงฆ์จากทิศทั้ง ๔ เมื่อถึงกาลแห่งพรรษา เหล่าพระสาวกผู้จาริกเผยแผ่ธรรมตามเขตคามนิคม กลับคืนสู่พระเชตวัน ๑ ไตรมาส ประชุมสัมมนา ทบทวน หัวข้อ เทศนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และเสนอข้อพึงบัญญัติ และปรับเปลี่ยน สังฆสภาแห่งนี้จึงเป็นฐานที่ใช้ประชุมที่สำคัญในครั้งนั้น
เจดีย์พระอรหันต์แปดทิศ พระพุทธเจ้าทรงมอบภาระการเผยแผ่ให้หมู่พระอรหันต์เจ้า กระจายออกไปประกาศพุทธธรรม อุปสมบทกุลบุตรผู้ศรัทธา ตามเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าในบางคราว
ครั้งสำคัญมีขึ้นจะกลับมาที่เชตวันเพื่อรับพระโอวาทและแสดงธรรม
อันเป็นที่ตั้งแห่งความสําเร็จแก่บรรดามหาสาวกทั้งหลาย
เมื่อเรามีข้อมูลสำคัญ ต่างๆของเมืองสาวัตถี กิจกรรมบุญที่สำคัญยิ่ง ที่ฟาฟา ทราเวลจะนำพาทุกท่านร่วมแสวงบุญ เพื่อให้เกิดบุญอันสูงสุด บุญอันยิ่งใหญ่ บุญที่ไม่สามารถเกิดขึ้นเองได้ ต้องลงมือกระทำด้วยตัวของท่านเอง ทั้งทาน ศีล และภาวนา ตลอดทริปการเดินทาง พร้อมควบคู่ไปกับข้อมูลรายละเอียด และพิธีกรรมต่างๆ เพื่อให้ทุกท่านๆที่ร่วมแสวงบุญไปกับเรา เกิดความปิติยิ่งๆ ขึ้น