ธัมมจักกัปปวัตตสถาน สถานที่แสดงธรรม
สังเวชนียสถานแห่งที่ ๓ สารนาถ
สถานที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาที่ป่าอิสปตนมฤคทายวันแขวงพาราณสี ปัจจุบันเรียกว่าเมืองสารนาถ ธรรมจักรกัปปวัตนสูตรพระธรรมที่ทรงแสดงไว้ว่าเป็นทางสายกลางทำให้เกิดดวงตาเห็นธรรม ทำให้เกิดปัญญา เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อการตรัสรู้(คือรู้แจ่มแจ้ง) และเพื่อพระนิพพาน (สภาพที่ดับกิเลสและทุกข์ทั้งปวง) เหตุการณ์ที่สำคัญคือ วันพระธรรมจักรคือ วันที่ล้อแห่งพระธรรมของพระพุทธเจ้าได้หมุนไปเป็นครั้งแรก วันที่มีพระสงฆ์เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ในวันอาสฬหบูชา กิจกรรมสำคัญยิ่งที่ผู้ร่วมแสวงบุญเมื่อได้เดินทางมาถึงสถานที่แห่งนี้คือ การร่วมสวดมนต์ธัมจักรกัปปวัตนสูตร ณ ธัมเมกขสถูปเมืองสารนาถ พร้อมทั้งชมพระพุทธรูปปางแสดงพระธรรมเทศนา ณ พิพิธภัณฑสถานเมืองสารนาถ พร้อมทั้งร่วมเดินทางสู่แม่น้ำคง เพื่อล่องเรือชมวิธีชีวิตของชาวเมืองพาราณสี ในแบบฉบับที่ท่านจะไม่เคยพบมาก่อน
ธัมเมกขสถูป สารนาถ (มฤคทายวัน)
สังเวชนียสถานแห่งที่ ๓ เมืองสารนาถ ตั้งอยู่เมืองพาราณสี รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย ห่างจากตัวเมืองพาราณสีประมาณ ๑๕ กิโลเมตร สารนาถเป็นสถานที่สำคัญในประวัติพระพุทธศาสนาเป็นสถานที่ ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงปฐมเทศนา ธรรมจักรกัปวัตนสูตร เพื่อโปรดเหล่าปัจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ซึ่งปัจจุบันเรียกบริเวณนี้ว่าเมืองสารนาถ ภายในเมืองสารนาถประกอบไปด้วยสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนาดังต่อไปนี้
ธัมเมกขสถูป
สถูปที่แสดงให้เห็นว่า สถานที่ตำแหน่งนี้ พระพุทธองค์ทรงแสดงปฐมเทศนาธรรม ณ จุดแห่งนี้ สถูปแห่งนี้เป็นอนุสรเตือนสติเพื่อให้ระลึกถึงกุศลธรรม ผู้เห็นธรรมคือ พระอัญญาโกณทัญญะ สันนิษฐานกันว่าน่าจะสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช (พ.ศ.269-311) ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองอย่างสูงสุด และอาจมีการบูรณปฏิสังขรณ์ต่อเติมขึ้นมาในสมัยราชวงศ์คุปตะ (ราว พ.ศ.900-1100) เพราะแผ่นอิฐด้านในพระสถูปนั้น มี อายุเก่าแก่กว่าแผ่นอิฐด้านนอก และลวดลายที่ปรากฏบนองค์พระสถูปด้านนอกนั้นเป็นลวดลายใบไม้ ดอกไม้ นก และรูปทรงเรขาคณิต ซึ่งเป็นศิลปะที่นิยมมากในสมัยคุปตะ
นอกจากนี้แล้วบริเวณยังมีส่วนที่สำคัญดังต่อไปนี้
- เสาอโศก หรือ เสาหินพระเจ้าอโศกมหาราช
- พระมูลคันธกุฏี หรือ “พระมูลคันธกุฏีวิหาร” ภายในอาณาบริเวณสารนาถในปัจจุบัน
- พระพุทธรูปปางปฐมเทศนา ในพิพิธภัณฑ์สารนาถ เมืองพาราณสี ซึ่งถูกขุดพบ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
ที่มีผู้ยกย่องว่าเป็นพระพุทธรูปปางปฐมเทศนาที่งามที่สุดในโลก สร้างขึ้นในยุคสมัยคุปตะ (Gupta Period) เมื่อประมาณปีพุทธศักราช ๘๐๐-๑๒๐๐ - เสาหัวสิงห์ ๔ ทิศ ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ ณ พิพิธภัณฑ์สารนาถ เมืองพาราณสี
สำหรับการจาริกแสวงบุญ ทางคณะแสวงบุญจะนำพาทุกท่านร่วมกิจกรรมบุญมากมาย อาทิเช่น
- ร่วมปทักษิณา เวียนเทียนรอบธัมเมกขสถูปเป็นพุทธบูชา
- ร่วมสวดมนต์ เจริญจิตภาวนา พร้อมร่วมกันสวดมนต์บทธรรมจักรกัปวัตนสูตร เป็นพุทธบูชา ณ บริเวณสังเวชนียสถานที่สำคัญ จุดนี้
- ปิดทองคำเปลวเป็นพุทธบูชา ณ พระมูลคันธกุฏิ เมืองสารนาถ
- ชมปฏิมากรรมที่สำคัญยิ่ง ณ พิพิธภัณฑ์สารนาถ เมืองพาราณสี
SARNATH
SARNATH:It is said that Lord Buddha delivered his first sermon after attaining enlightenment here in Sarnath.The buildings and monuments of Sarnath were built by the emperor Ashoka.
VISIT:Chowkhandi Stupa,Dhamekha Stupa,Ashok Pillar,Deer Park.
ภาพประทับใจและกิจกรรมต่างๆ ณ เมืองสารนาถ
พาราณสี ล่องเรือ ณ แม่น้ำคงคา
เมืองศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวฮินดู ต้องมาสักการะยังแม่น้ำคงคา เส้นทางสายน้ำที่ชาวเมืองพาราณสีและชาวอินเดียต้องมาทำพิธีอาบน้ำในช่วงเช้าของทุกวัน ทุกท่านจะได้พบกับวิธีชีวิตของชาวเมืองพาราณสีริมฝั่งแม่น้ำคงคาในยามเช้า พร้อมล่องเรือ ชมสถานที่สำคัญต่างๆรอบแม่น้ำคงคา อาทิเช่น ณ จุดที่เผาศพริมฝั่งแม่น้ำคงคา จะมีศพถูกนำมาเผาวันละประมาณ ๘๐-๑๐๐ ศพ ซึ่งท่าน้ำในเมืองพาราณสีมี ท่าน้ำทั้ง ๕ คือ ท่าอัสสี ท่าทศอัศวเมธ ท่าปัญจคงคา ท่ามณิกรรณิกา และท่าอธิเกศวร ที่สำคัญที่ชาวฮินดูต่างมาสักการะ
ชาวฮินดูส่วนใหญ่ในหนึ่งวันจะอาบน้ำเพียงหนเดียวคือในยามเช้า โดยเฉพาะผู้คนที่อยู่แถบริมแม่น้ำคงคา เนื่องด้วย ๑. เป็นการชำระร่างกายอันเป็นกิจประจำ ยังถือเป็นน้ำที่ล้างบาปไปด้วยในตัว ๒. การอาบในเวลาพระอาทิตย์ขึ้น เป็นการขอพรและบูชาพระสุริยเทพต่อการดำเนินชีวิตในแต่ละวัน
ฝั่งของแม่น้ำคงคามี ๒ ฝั่ง คือ ฝั่งสวรรค์ และอีกฝั่งที่อยู่ตรงข้ามคือ ฝั่งนรก
ณ สถานที่แห่งนี้ทุกท่านๆจะได้ร่วมปลงสังเวช ร่างกายนี้เมื่อหมดลมหายใจไม่สามารถนำอะไรติดตัวไปได้เลย เหลือเพียงเถ้าถ่าน ดังคำของพระพุทธองค์ที่ว่า
มะระณะธัมโมม๎หิ เรามีความตายเป็นธรรมดา
มะระณังอะนะตีโต เราจะล่วงความตายไปไม่ได้
[insert page=’buddhist-destinations-1′ display=’content’]
เชิญร่วมแสวงบุญ
[insert page=’packagetour’ display=’content’]